เหตุการณ์สำคัญในดอยตุง
ปี 2530
- สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินไปดอยตุงเป็นครั้งแรก ณ บริเวณหน่วยอนุรักษ์ต้นน้ำ 31 หรือปัจจุบัน คือ ที่ตั้งของดอยตุง ลอด์จ
ปี 2531
- โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เริ่มดำเนินการ โดยมุ่ง "ช่วยชาวบ้านให้ช่วยตัวเอง" และเพื่อ "ให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน"
- การก่อสร้างพระตำหนักดอยตุงเสร็จสิ้น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จฯ แปรพระราชฐานที่พระตำหนักแห่งนี้ และทรงเรียกว่า "บ้านที่ดอยตุง"
ปี 2532
- ก่อตั้งบริษัท นวุติ เพื่อดำเนินงานโครงการป่าเศรษฐกิจ (กาแฟและแมคคาเดเมีย) ถือเป็นโครงการบรรษัทบริบาลหรือ Corporate Social Responsibility รายแรกๆ ในประเทศไทย
- เริ่มการสำรวจสำมะโนประชากรและข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของประชากรดอยตุงครั้งแรก (ทั้งหมด 27 หมู่บ้าน) ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำมาวัดผลที่มีต่อโครงการทุกปี
- เริ่มโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 90 พรรษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จำนวน 9,900 ไร่
ปี 2533
- เปิดร้านแม่ฟ้าหลวงร้านแรก บนดอยตุง
- เริ่มออกบัตรประจำตัวให้แก่ผู้ที่มีทะเบียนบ้านในเขตโครงการพัฒนาดอยตุงฯ และออกเอกสารสิทธิ์ชั่วคราวอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยและการเกษตร ทำให้ชาวบ้านเกิดความรู้สึกว่ามีถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ระยะยาวและตกทอดได้ในครอบครัว
- เปิดโรงฝึกอาชีพ ได้แก่ โรงฝึกทอผ้าเย็บผ้า และโรงงานกระดาษสา ณ เชิงดอยตุง ชาวบ้านได้รับการฝึกฝนจนชำนาญ สามารถทำผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันคือ ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ
ปี 2534
- เปิดห้องทดลองเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อขยายพันธุ์พืชต่างๆ มีการขยายพันธุ์หญ้าแฝกจำนวนมหาศาลเพื่อใช้และจำหน่ายในและต่างประเทศ
ปี 2535
- เริ่มโครงการพัฒนาหญ้าแฝกในโครงการพัฒนาดอยตุง
- เก็บเกี่ยวผลผลิตกาแฟครั้งแรกที่ดอยตุง
- สวนแม่ฟ้าหลวงเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดให้นักท่องเที่ยวเขาชม
- ศูนย์บำบัดยาเสพติดผาหมี เปิดให้การรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเป็นระยะเวลา 1,000 วัน โดยหลังจากการอดยาแล้ว ผู้เข้ารับการบำบัด ยังได้ฝึกอบรมทักษะวิชาชีพต่อเนื่อง เพื่อให้อดีตผู้ติดยาเสพติดเหล่านี้ได้มีโอกาสกลับเข้าสู่สังคมและใช้ชีวิตเยี่ยงคนปกติ ทำงานมีรายได้ ไม่เป็นภาระสังคมอีกต่อไป
ปี 2536
- สวนแม่ฟ้าหลวงได้รับรางวัล PATA Gold Award ของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคแปซิฟิกประเภทรางวัลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
ปี 2537
- โรงงานคั่วเมล็ดกาแฟ เริ่มดำเนินการ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร
- ตั้งโรงงานผลิตกระดาษสา
ปี 2538
- เก็บเกี่ยวผลผลิตแมคคาเดเมียครั้งแรกที่ดอยตุง
- เปิดโรงงานแปรรูปถั่วแมคคาเดเมีย บริเวณแปลงปลูกบนเขา
- เปิดร้าน "Doi Tung Coffee Corner" บนดอยตุง เป็นร้านแรก
- สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จสวรรคต
ปี 2539
- เปิดสวนรุกขชาติดอยช้างมูบ บนจุดสูงสุดของเทือกเขานางนอน ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม
ปี 2541
- เปิดโรงงานเซรามิค ที่ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ
ปี 2542
- ได้รับพระราชานุญาตเปิดเขตห้องบรรทมที่พระตำหนักดอยตุง ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม
ปี 2543
- องค์กร UNESCO ได้เฉลิมพระเกียรติ ยกย่องสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็น "บุคคลสำคัญของโลก"
ปี 2544
- สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญกรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNODC ให้สินค้าจากโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ใช้ตราสัญลักษณ์รับรองว่ามีส่วนช่วยเหลือสังคมจากยาเสพติด
ปี 2545
- เริ่มดำเนินงานโครงการ "ดอยตุง 2 - โครงการพัฒนาชุมชนบ้านหย่องข่า สหภาพพม่า" ตามการตกลงความร่วมมือของรัฐบาลสหภาพพม่าและรัฐบาลไทย ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำโครงการขยายผล นำประสบการณ์และแนวทางการพัฒนาแบบไทยไปช่วยเหลือต่างประเทศเป็นครั้งแรก
- รัฐบาลอังกฤษได้เชิญเลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ไปพูดที่การประชุมว่าด้วยเรื่องยาเสพติดครั้งที่ 1 ณ กรุงคาบูล รัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ได้รับความสนใจอย่างมาก ทำให้มีคณะจากหลายระดับและหลายหน่วยงานจากประเทศอัฟกานิสถานเดินทางมาศึกษางานที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ
- ขยายและปรับปรุงร้านกาแฟ เปิดร้าน DOI TUNG COFFEE ที่สวนลุมไนท์บาร์ซาร์ เพื่อเพี่มมูลค่าให้แก่กาแฟของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ
ปี 2546
- เริ่มโครงการนำร่องการเรียนการสอนแบบ Montessori คือ การให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ และให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง
- เปิดหอพระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม
- สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญกรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNODC มอบโล่ห์ยกย่องโครงการพัฒนาดอยตุงของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ว่ามีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาฝิ่นและยาเสพติด อีกทั้งพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ เป็นตัวอย่างที่เป็นเลิศของการพัฒนาชนบทอย่างครอบคลุมครบวงจร การมีส่วนร่วมของชุมชน และการแก้ปัญหาที่รากเหง้าของความยากจนและช่วยคนให้ช่วยตนเอง
ปี 2548
- หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ เปิดอย่างเป็นทางการ
- มูลนิธิสยามกัมมาจล ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน ร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ดำเนินโครงการปลูกป่าถารเฉลิมพระเกียรติ หรือโครงการปลูกป่าแก้จน ต.เทอดไทย (หรือที่เรียกตามสถานที่ตั้งสำนักงานว่า แปลงปลูกป่าปางมะ) ภายใต้โครงการบรรษัทบริบาลหรือ CSR ของทางธนาคารฯ ถือเป็นการขยายผลบทเรียนการปลูกป่าจากโครงการพัฒนาดอยตุงฯ เป็นครั้งแรก
ปี 2549
- รัฐบาลเบลเยี่ยมได้ลงนามสัญญากับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ นำแนวทางการทำงานของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ไปปรับใช้เป็น โครงการดอยตุง 3 - ธนาคารแกะ A4 จังหวัดบัลค์ รัฐอิสลามอัฟกานิสถาน
- มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้ตั้งหน่วยงานร่วมมือกับประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือ เรียกว่า ศูนย์เผยแพร่และเรียนรู้การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน หรือ "Mae Fah Luang Centre for Social Entrepreneurship (CSE)"
- หลังจากที่ UNODC และรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้เชิญเลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ให้ร่วมประชุมหารือแผนการพัฒนาทางเลือกในจังหวัดอาเจะห์ คณะผู้แทนจากจังหวัดอาเจะห์ได้เดินทางมาศึกษางานที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ และเชิญเลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ไปเยือนจังหวัดอาเจะห์ เพื่อให้ช่วยศึกษาหาวิธีการพัฒนาพื้นที่
- เริ่มโครงการดอยตุง 4 ที่จังหวัดอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย
ปี 2550
- มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และมูลนิธิขาเทียมฯ เริ่มโครงการโรงงานผลิตขาเทียมที่เมืองบันดาอาเจะห์ จังหวัดอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อช่วยเหลือผู้พิการจากภัยพิบัติสึนามิ สงครามและสาเหตุอื่นๆ
ปี 2551
- มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับอนุญาติให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( Geographical Indication )ในฐานะเป็นผู้ผลิต / ประกอบการค้ากาแฟดอยตุง
|