member กล้วยไม้รองเท้านารีจากดอยตุงฯ คว้ารางวัลยอดเยี่ยมระดับประเทศ จากชมรมรองเท้านารีแห่งประเทศไทย | Doi Tung Development Project Sustainable Development doi tung coffee Chiang Rai Thailand Macadamia

กล้วยไม้รองเท้านารีจากดอยตุงฯ คว้ารางวัลยอดเยี่ยมระดับประเทศ จากชมรมรองเท้านารีแห่งประเทศไทย (12 เม.ย. 54)

                                                                     รางวัลยอดเยี่ยมประเภทไม้ช่อ

     ในการประกวดของชมรมรองเท้านารีแห่งประเทศไทยครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2554 ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็คเมืองทองธานีรองเท้านารีจากโครงการพัฒนาดอยตุงฯได้รับเกียรตินิยม (Certificate) จากสมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ รวม 4 รายการ โดยรองเท้านารีฟิลิปปินส์เนนเซ่ต้น MT  (Paph. Philippinense  “MT” ) ซึ่งเป็นหนึ่งในรองเท้านารีสายพันธุ์แท้ที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้ทำการรวบรวมไว้ มีลักษณะดอกใหญ่เป็นพิเศษและกลีบข้างกางออกเป็นมุมกว้าง มีสีเข้ม ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมประเภทไม้ช่อ  และยังได้รับเกียรตินิยมอีก 3 รายการคือ

     Paph. Saint Swithin   ''Sangwan 1''  ได้รับเกียรตินิยม AM/RHT  รวม 80.10  คะแนน  เป็นการผสมพันธุ์ของพันธุ์แท้ 2 ชนิดคือ Paph. philippinense “4” ผสมกับ Paph. rothschildianum “ 0035”  ลูกผสม Hy 232 ชุดนี้โครงการพัฒนาดอยตุงฯได้ผสมเมื่อสิบปีที่แล้ว และได้ปลูกไว้จนกระทั่งเป็นกอใหญ่สวยงาม

     Paph. delenatii  ''Sangwan 1''  ได้รับเกียรตินิยม AM/RHT  81.00  คะแนน  เป็นรองเท้านารีพันธุ์แท้ที่มีดอกสีชมพูอ่อนสวย มีดอกขนาดใหญ่ และ มีจำนวนดอกต่อช่อได้ถึง 3 ดอก

     Paph. hirsutissimum  ''Sangwan 6''  ได้รับเกียรตินิยม AM/RHT 81.60  คะแนน  เป็นรองเท้านารีพันธุ์แท้ที่มีกลีบข้างสีม่วงใส ยกขนานกับพื้น กลีบดอกกว้าง หลังคาใหญ่ ขนาดดอกใหญ่และมีดอกดก

     รางวัลและเกียรติยศเหล่านี้ เป็นผลจากการรวบรวม  ผสมพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์ กล้วยไม้รองเท้านารี ตามพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีโดยพื้นที่ของโครงการพัฒนาดอยตุงเป็นแหล่งที่มีการกระจายพันธุ์ของรองเท้านารีดอยตุงถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติของกล้วยไม้นี้อยู่บริเวณหน้าผาหินปูนของดอยตุง

     เมื่อครั้งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เสด็จมาประทับทรงงานได้ทรงทราบเรื่องราวของกล้วยไม้รองเท้านารีบนดอยตุง ประกอบกับเป็นกล้วยไม้ที่ทรงโปรดอยู่แล้ว ในปี พ.ศ. 2536  โครงการพัฒนาดอยตุง จึงได้เริ่มรวบรวม  ผสมพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์รองเท้านารีดอยตุงจากแหล่งกำเนิดดอยตุงจนได้ต้นพันธุ์ที่มีลักษณะดีเด่นและจะนำกลับไปปลูกคืนในถิ่นกำเนิดเดิมเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ รองเท้านารีดอยตุง ยังคงอยู่กับ ดอยตุง ตลอดไป