วงกลมเศษส่วน

fract 

อุปกรณ์                 

ชุดแผ่นไม้วงกลมสิบชุดในกรอบสี่แหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งแต่ละวงกลมแบ่งเป็นชิ้นเศษส่วนตั้งแต่ 1ชิ้น ถึง 10 ชิ้น และแต่ละชิ้นมีจุกไม้สำหรับจับ
หมายเหตุ : สิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับชุดวงกลมเศษส่วนคือเด็กต้องรู้จัก 1-10

จุดประสงค์           

  • เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจเบื้องตนเกี่ยวกับเศษส่วน และจดจำว่าทุกๆชิ้นไม้ในชุดวงกลมเดียวกันจะมีขนาดเท่ากัน
  • เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การเรียกเศษส่วน 

กลไกควบคุมความผิดพลาด

เศษส่วนไม้แต่ละชิ้นในชุดวงกลมเดียวกันจะมีขนาดเท่ากันและจะใส่ลงในกรอบไม้ได้พอดีหลังจากที่ทำกิจกรรมเสร็จและใส่ชิ้นไม้กลับเข้ากรอบ

คำศัพท์ที่ได้          

หนึ่งส่วนหนึ่ง   หนึ่งส่วนสอง   หนึ่งส่วนสาม    หนึ่งส่วนสี่.............จนถึงหนึ่งส่วนสิบ

ระดับอายุ              

4 ½  ปี

ข้อเสนอแนะ          

               แนะนำให้เด็กรู้จักชุดวงกลมเศษส่วนบนชั้นที่เก็บ และจะแนะนำโดยเริ่มจากชุดวงกลมแผงที่หนึ่งก่อน หรือทั้งสองแผงพร้อมกันก็ได้  โดยให้เด็กปูพรมบนพื้นห้อง แล้วให้เด็กยกแผงชุดอุปกรณ์มาวางบนพรมที่ละแผง  กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมมอนเตสซอรี่แบบบริสุทธิ์ เพราะเด็กจะได้ทำงานกับสื่ออุปกรณ์ในลักษณะของตัวต่อ

               ครูนั่งลงข้างๆเด็กแล้วเริ่มหยิบเศษส่วนออกจากกรอบ(เริ่มจากซ้ายมือก่อน)โดยวางไว้ด้านหน้าให้ตรงกับกรอบของแต่ละชุด หลังจากที่ครูทำไปได้สามถึงสี่ชุดก็ลองให้เด็กทำต่อกับชุดที่เหลือ  เมื่อหยิบเศษส่วนออกมาจากกรอบทั้งหมดแล้ว บอกให้เด็กคอยดูวิธีการที่ครูใส่เศษส่วนกลับเข้ากรอบ  และในขณะที่ใส่ก็นับได้ด้วยว่ามีกี่ชิ้นจึงจะเต็มช่อง  เช่น หนึ่ง สอง ไปเรื่อยๆ  และเช่นเดียวกันหลังจากที่ครูทำไปได้สามถึงสี่ชุด ก็ให้เด็กลองทำต่อไปจนเสร็จ  เมื่อเสร็จแล้วครูเพิ่มเติมข้อเท็จจริงให้กับเด็กว่า ในการเติมช่องวงกลมให้เต็มนั้นมีเศษส่วนที่แตกต่างกันหลายแบบ

               แบบฝึกหัดที่ 1       เด็กทำกิจกรรมเช่นเดียวกับที่ได้รับการแนะนำ

               แบบฝึกหัดที่ 2       กิจกรรมนี้ทำกับพื้นบนพรม โดยครั้งนี้ครูชักชวนให้เด็กหยิบเศษส่วนออกจากกรอบ และเริ่มจากทางซ้ายมือก่อนเช่นกัน แต่ครั้งนี้ให้เอาวางคละกันไว้ด้านหน้าแผงไม้ หลังจากที่หยิบออกมาหมดแล้ว ครูบอกให้เด็กดูวิธีการที่ครูเอากลับใส่กรอบ โดยครูเลือกหยิบชิ้นใดชิ้นหนึ่งขึ้นมา  เช่น ครูหยิบชิ้นหนึ่งส่วนสามขึ้นมาหนึ่งชิ้น แล้วเลือกอีกหนึ่งชิ้นขึ้นมาเทียบกันว่าเท่ากันหรือไม่ ถ้าเท่ากันให้วางชิ้นหนึ่งใส่กลับเข้ากรอบแรก  แล้วหาชิ้นที่สามของเศษส่วนด้วยวิธีการเดียวกัน แล้วใส่ทั้งสองชิ้นกลับเข้ากรอบ แล้วให้เด็กลองทำกับชิ้นอื่นๆที่เหลือ ต่อไป

               หลังจากที่เศษส่วนทุกชิ้นใส่กลับเข้าในกรอบแล้ว ให้เด็กเรียงชุดเศษส่วนทั้งหมดไว้ตามลำดับดังเดิม โดยที่ครูช่วยเสริมข้อเท็จจริงว่า เราเริ่มจากชุดเศษส่วนที่มีเพียงหนึ่งชิ้น(หนึ่งส่วนหนึ่ง)แล้วตามด้วยสองชิ้น(หนึ่งส่วนสอง)ไปเรื่อยๆ  กิจกรรมนี้จะช่วยให้เด็กเห็นภาพความสัมพันธ์    ระหว่างตัวเลข และยิ่งกว่านั้นข้อเท็จจริงจากชิ้นเศษส่วนต่างๆของ แต่ละช่องก็เป็นตัวบ่งชี้ด้วย

               แบบฝึกหัดที่ 3       กิจกรรมนี้ก็ทำบนพื้นเช่นเดียวกัน แต่ว่าให้เด็กนำชุดอุปกรณ์มาเพียง 1แผง (1-5) เท่านั้น จากนั้น จากนั้นครูก็บอกเด็กว่าเราจะเรียนการเรียกชื่อเศษส่วนกัน และในการแนะนำนี้ให้ครูใช้บทเรียนสามขั้นตอนของมอนเตสซอรี่ โดยแนะนำทีละชุด และสำหรับชุดที่มีหลายชิ้น ให้แนะนำทีละสองถึงสามชิ้นเท่านั้น

หมายเหตุ

               และสิ่งสำคัญก็คือ ไม่ควรลืมที่จะทบทวนชื่อเศษส่วนที่แนะนำไปแล้วทุกครั้ง ก่อนที่จะเริ่มแนะนำอันใหม่ จนถึงการแนะนำชุเศษส่วนแผงที่สอง และเด็กรู้จักชื่อเศษส่วนทั้งตั้งแต่ 1-10 แล้ว กิจกรรมต่อไปจะเป็นกิจกรรมเศษส่วนที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์